เมนู

ที่ข่มไว้เป็นเวลา 60 ปีก็หวั่นไหว. ในครั้งนั้นท่านรู้ตัว จึงขอเรียน
กรรมฐานในสำนักของท่านธรรมทินนเถระ และได้บรรลุพระอรหัต
เหมือนกับพระเถระรูปก่อน.
ส่วนท่านธรรมทินนะ ก็ได้ไปยังติสสมหาวิหารตามลำดับ . และใน
เวลานั้น พระเถระทั้งหลายกวาดลานพระเจดีย์แล้วนั่งกรรมฐาน ยังปีติมี
พระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น. นัยว่า การทำอย่างนี้เป็นกิจวัตรของ
ท่านเหล่านั้น. เพราะเหตุนั้น จึงไม่มีพระเถระแม้แต่รูปเดียว บรรดา
พระเถระเหล่านั้นจะบอกจะถามท่านธรรมทินนะว่า ท่านจงวางบาตรและ
จีวรไว้ตรงนี้. แต่ก็รู้กันว่า นั่นคงจะเป็นท่านธรรมทินนะ จึงได้พากัน
ถามปัญหาท่าน. ท่านตอบโต้ตัดปัญหาที่ถาม ๆ มา เหมือนกับใช้ดาบ
ที่คมตัดมัดก้านดอกโกมุท ให้ขาดสะบั้นฉันนั้น แล้วเอานิ้วเท้ากดมหาปฐพี
และพูดว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มหาปฐพีนี้แม้จะไม่มีจิตใจ ยังรู้คุณค่าของ
ธรรมทินนะ แต่ท่านทั้งหลายไม่รู้จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แผ่นดินนี้ ไม่มีจิตใจ ยังรู้คุณค่า
น้อยใหญ่ ส่วนท่านทั้งหลายมีจิตใจ แต่ไม่รู้คุณค่า
น้อยใหญ่.

สัลเลขธรรมคือฌาน - วิปัสสนา


และในทันใดนั่นเอง ท่านก็ได้เหาะขึ้นไปบนอากาศ ไปยัง
ตลังคติสสบรรพตนั่นเอง.
[102] อธิมานะ ย่อมเกิดขึ้นแก่การกบุคคลเท่านั้น ดังที่กล่าว
มานะแล้ว. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกฌาน

ด้วยสามารถแห่งภิกษุทั้งหลายผู้เช่นนั้น จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า "ฐานํ
โข ปน."

บทว่า ฐานํ โข ปน นั้นมีอรรถาธิบายว่า เหตุนี้มีอยู่ ไม่ใช่
ไม่มี คือภิกษุลางรูปในศาสนานี้ สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ เข้าปฐม-
ฌานอันเป็นสาธารณะแก่ปริพาชกนอกศาสนาทั้งหลายอยู่.
แต่คำใดว่า ข้อว่า ตสฺส เอวมสฺส สลฺเลเขน วิหรามิ (เธอพึงมี
ความเข้าใจอย่างนี้ว่า เราอยู่ด้วยสัลเลขธรรม ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส )
ความว่า วิธีปฏิบัติได้ ย่อมขัดเกลากิเลสได้ เราอยู่ด้วยวิธีปฏิบัตินั้น
คำนั้นไม่ถูก. เพราะว่า ฌานของภิกษุผู้มีมานะยิ่ง ไม่เป็นสัลเลขธรรม
หรือสัลเลขปฏิปทา1.
เพราะเหตุไร ? เพราะไม่เป็นเบื้องบาทของวิปัสสนา. อธิบายว่า เธอ
เข้าฌาน ครั้นออกจากฌานแล้ว ก็ไม่พิจารณาสังขารทั้งหลาย. ส่วนฌาน
ก็ทำเพียงแต่ให้จิตของเธอเป็นเอกัคคตาเท่านั้น. เธอก็เป็นผู้อยู่สบายใน
ปัจจุบัน. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้น
จึงได้ตรัสว่า ดูก่อนจุนทะ ฌานธรรมเหล่านั้น เราตถาคตไม่เรียกว่า เป็น
สัลเลขธรรมในวินัยของพระอริยเจ้าเลย แต่ฌานธรรมเหล่านั้น เราตถาคต
เรียกว่า ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม (ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน)
ในวินัยของพระอริยเจ้า.
คำว่า เอเต (เหล่านั้น) ในพระพุทธพจน์นั้น พึงทราบว่า
1. ฉ. น หิ อธิมานิกสฺส ภิกฺขุโน ฌานํ สลฺเลโข วา สลฺเลขปฏิปทา วา โหติ แปลตามนี้.

เป็นพหุพจน์ด้วยอำนาจแห่งฌาน. มีคำอธิบายว่า เอเต โยค ปฐมชฺฌาน-
ธมฺมา
(แปลว่า ธรรมคือปฐมฌานเหล่านั้น) อีกอย่างหนึ่ง (เป็น
พหุพจน์) ด้วยอำนาจแห่งสมาบัติ. อธิบายว่า ปฐมฌานแม้ฌานเดียว
แต่เป็นไปโดยการเข้าบ่อย ๆ ก็ถึงความเป็นของมากได้. อีกอย่างหนึ่ง
เป็นพหุพจน์ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์. อธิบายว่า ปฐมฌานแม้ฌานเดียว
ก็ถึงความเป็นของมากได้โดยการเป็นไปในอารมณ์ทั้งหลาย มีปฐมวีกสิณ
เป็นต้น. ในทุติยฌาน, ตติยฌาน และจตุตถฌาน ก็นัยนี้.
แต่ในอรูปฌานทั้งหลาย (คำว่าเหล่านั้น) พึงทราบว่าเป็นพหุพจน์
ด้วยอำนาจแห่งเหตุทั้ง 2 ในฌานก่อน (จตุตถฌาน) นั่นเอง เพราะ
ไม่มีความต่างกันแห่งอารมณ์. ก็เพราะเหตุที่ทั้งองค์ทั้งอารมณ์ของอรูปฌาน
เหล่านั้น สงบ อธิบายว่า ทั้งดับสนิททั้งละเอียด เพราะฉะนั้น ทั้งองค์
ทั้งอารมณ์เหล่านั้น พึงทราบว่า พระองค์ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ฌานธรรม
เหล่านั้นเป็นธรรมอันสงบ เป็นธรรมเครื่องอยู่ (สันตวิหารธรรม).
นี้เป็นการขยายความทั่วไปของอรูปฌานทั้ง 4 เหล่านั้นก่อน. ส่วนการ
ขยายความพิเศษควรกล่าว (อธิบาย) ตามทำนองบทเป็นต้นว่า เพราะ
ล่วงเลยรูปสัญญาไปโดยประการทั้งปวง. การขยายความนั้นได้กล่าว
(อธิบาย) ไว้ทุกอย่างในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้วแล.
[103] เพราะเหตุที่วิหารธรรมคือฌาน ของภิกษุผู้มีอธิมานะ
ไม่เป็นสัลเลขวิหารธรรม เพราะไม่เป็นบาทของวิปัสสนา ด้วยว่า เธอ
เข้าฌาน ครั้นออกจากฌานแล้ว หาได้พิจารณาสังขารทั้งหลายไม่ แต่
ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรมของเธอเป็น (เพียง) ทำให้จิตเป็นอกัคคตา
อย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้น

จึงทรงจำแนกรูปฌานและอรูปฌานไว้ และต่อไปนี้ เมื่อจะทรงแสดง
เรื่องนั้น และสัลเลขธรรมนั้นด้วยอาการ 4อย่าง จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า
อิธ โข ปน โว ดังนี้.

บาทของวิปัสสนา


[104] ก็เหตุไฉนธรรมทั้งหลาย มีอวิหิงสาเป็นต้นเท่านั้น
นอกจากสมาบัติทั้ง 8 อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเป็นสัลเลขธรรม ?
เพราะธรรมทั้งหลายมีอวิหิงสาเป็นต้น เป็นบาทของวิปัสสนาที่เป็น
โลกุตระได้.
อันที่จริง สมาบัติทั้ง 8 ของคนภายนอก (พุทธศาสนา) ทั้งหลาย
เป็นบาทของวัฏฏะ เท่านั้น. แต่ในศาสนา (พุทธ) แม้สรณคมน์
ก็พึงทราบว่า เป็นบาทของโลกุตตรธรรมได้ ตามพระสูตรนี้โดยเฉพาะ
จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมทั้งหลาย มีอวิหญิงสาเป็นต้นเล่า (ที่จะเป็นไป
ไม่ได้).
อนึ่ง ทานที่บุคคลถวายแก่ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ในศาสนา
(พุทธ) มีผลมากกว่าทาน ที่ให้แก่คนนอกศาสนา ที่ได้สมาบัติ 8 แม้
มีอภิญญา 5 ก็ตาม. เพราะว่าในทักขิณาวิภังคสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงหมายเอาข้อความนี้ จึงได้ตรัสไว้ว่า ทักขิณามีผลคูณด้วยแสนโกฏิ
ทายกพึงหวังได้ เพราะให้ทานแก่บุคคลนอกศาสนา ผู้ปราศจากความ
ยินดีในกามทั้งหลาย. แต่ทักขิณามีผลนับไม่ถ้วน คำนวณไม่ถูก ทายก
พึงหวังได้ เพราะให้ทานแก่ผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
จะกล่าวถึงทำไมสำหรับพระโสดาบัน.